ประวัติเทียนวันเกิด
วันเกิดทั้งทีจะต้องปักเทียนกี่เล่มถึงจะดี ควรปักเทียนเกินอายุหรือเท่าอายุ
เชื่อว่าวันเกิดของเราหรือเพื่อนวนมาที่ไร ต้องมีคำถามยอดฮิตว่า อายุเท่าไรแล้วนะ ได้ปักเทียนถูก อย่าลืมปักเกินไป +1 เล่มด้วย ทำไมต้องเป็นเช่นนั้น มาหลับตา อธิฐาน ย้อนเวลาไปดูจุดเริ่มต้นพร้อมกัน ในความเชื่อของไทยเรานั้นเชื่อกันว่าหากปักเกิน +1 เล่ม จะทำให้ได้เป่าเทียนอีกในปีถัดไป
แต่หากจะถามถึงจุดเริ่มต้นนั้นมีการพูดถึงกันมากมายหลายทฤษฏีไม่ใช่แค่ในไทย แต่ยังเป็นระดับสากลทั่วโลก ไล่ไปทีละอย่าง การจุดเทียน มีความเชื่อมาจากกรีกโบราณ ว่ากันว่าชาวกรีกโบราณจะนำเค้กที่ตกแต่งพร้อมปักเทียนไปบูชาเทพีอาร์ทีมิส (Artemis) เทพีแห่งดวงจันทร์และการล่าสัตว์ ที่วิหารอาร์ทีมิส สาเหตุที่ต้องจุดเทียนเพื่อเป็นการสื่อถึงเทพีอาร์ทีมิสที่มีแสงสว่างราวกับดวงจันทร์ในยามค่ำคืน และควันจากเทียนยังเป็นการสื่อถึงคำอธิษฐานลอยไปถึงสวรรค์อีกด้วย ตรงนี้เลยคาดว่าเป็นที่มาขอการอธิฐานก่อนเป่าเทียน
ส่วนการปักเทียนให้เท่าอายุ คาดว่ามีจุดเริ่มต้นจากชาวเยอรมัน ที่ปกติแล้วชาวเยอรมันเชื่อว่า เทียนนั้นเป็นสัญลักษณ์ของแสงแห่งชีวิต (Light of Life) เลยมักปักเทียน 1 เล่มให้กับเด็กๆตั้งแต่ช่วง ค.ศ 1700 เป็นต้นมา ในปี ค.ศ. 1746 มีการจัดงานวันเกิดสุดยิ่งใหญ่ของ ท่านเคานท์ ลุดวิจ ฟอน ซินเซนดอร์ฟ (Count Ludwig Von Zinzindorf) ด้วยการที่เค้กท่านเคานท์นั้นใหญ่จนสามารถปักเทียนตามอายุของท่านเคาน์ได้ เลยเป็นที่มาของการปักเทียนตามอายุ
สำหรับพวกเราชาวไทยก็น่าจะปรับตามความเชื่อที่มักเชื่อในเรื่องดวง อายุ เลยปักเกินไป +1 เล่ม เสมอและในประเทศไทยนั้นยังมีความเชื่อในเรื่องวันเกิดอื่นๆอีก เช่น ในวันเกิดต้องทำบุญเพื่อเป็นมงคลกับชีวิต เป็นต้น